Topic: เสียงและความรู้ทั่วไป

การหักเหของเสียง 0

การหักเหของเสียง      

                          หมายถึง เสียงที่เดินทางจากตัวกลางหนึ่ง ผ่านรอยต่อของตัวกลางเพื่อเข้าไปยังตัวกลางที่สองแล้วเกิดเปลี่ยนทิศของการเดินทาง ทำให้อัตราเร็วและความยาวคลื่นเสียงเปลี่ยนไป แต่ความถี่ยังคงที่เหมือนเดิม ถ้ามุมหักเหโตกว่า 90 องศา ทิศทางการเคลื่อนที่จะกลับเข้าสู่ตัวกลางเดิม คือ เกิดการสะท้อนกลับหมด เนื่องจากเสียงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง ดังนั้นจึงมีการหักเหเมื่อผ่านตัวกลางต่างชนิด เช่น เสียงตะโกนในอากาศเคลื่อนที่ในอัตราเร็วอันหนึ่ง เมื่อเสียงนี้ผ่านลงในบ่อน้ำจะเปลี่ยนอัตราเร็วเป็นเร็วขึ้น ดังนั้น เมื่อเสียงเคลื่อนที่จากตัวกลางที่มีความเร็วน้อย คือ อากาศเข้าสู่ตัวกลางที่มีความเร็วมากกว่า คือ ในน้ำ เสียงจะหักเหออกจากเส้นตั้งฉากและถ้าเสียงเคลื่อนที่ออกจากตัวกลางที่มีความเร็วมากกว่า ไปสู่ตัวกลางที่มีความเร็วน้อยกว่า เสียงจะหักเหเข้าหาเส้นตั้งฉาก และอัตราเร็วของเสียงขึ้นกับความหนาแน่นของตัวกลางด้วย คือ ตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อย อัตราเร็วของเสียงจะช้ากว่าตัวกลางที่มีความหนาแน่นมาก
                            หลักการนี้ใช้อธิบายเกี่ยวกับการเห็นฟ้าแลบ แต่ไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้องได้ เพราะเมื่อเกิดฟ้าแลบเกิดเสียง แต่อากาศใกล้พื้นดินอุณหภูมิสูงกว่าอากาศเบื้องบน การเคลื่อนที่ของเสียงเคลื่อนที่ได้ในอัตราที่ต่างกัน คือ เคลื่อนที่ในอากาศที่มีอุณหภูมิสูงได้เร็วกว่าในอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำ ดังนั้น การเคลื่อนที่ของเสียงจึงเบนขึ้นทีละน้อย ๆ จนข้ามหัวเราไป จึงทำให้ไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก: http://yaringpat.blogspot.com/2012/10/20-20000-20000-ultrasonic-20-hz.html

ตัวกลางของเสียง 0

ตัวกลางของเสียง

คลื่นเสียงจะเดินทางมีถึงผู้ฟังได้ ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น ขณะที่นักเรียนพูดกับเพื่อนเสียงเดินทางผ่านอากาศมาถึงหูเพื่อนจึงจะได้ยินเสียง หรือเมื่อคนงานซ่อมรางรถไฟเอาหูแนบกับรางรถไฟฟังเสียงว่ามีรถไฟมาหรือไม่ นั่นแสดงว่าเสียงต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่

เสียง, ความสั่นสะเทือนและส้อม สามารถบอกอะไรเราได้บ้าง 0

เสียง, ความสั่นสะเทือนและส้อม สามารถบอกอะไรเราได้บ้าง

เมื่อเราเคาะส้อมเสียงจะได้ยินเสียงสูงต่ำต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับ ส้อมเสียงนั้น ๆ ว่ามีความถี่เท่าไร ถ้าเราจับส้อม เราจะรู้สึกได้ว่าส้อมเสียงสั่น หรือ หลังจากเคาะส้อมเสียงแล้วเอาส้อมเสียงจุ่มลงไปในน้ำจะเห็นน้ำกระเพื่อมกระจายเป็นคลื่นออกไป นั่นแสดงว่าเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ ซึ่งการสั่นสะเทือนทำให้ตัวกลาง เกิดการสั่นแล้วถ่ายโอนพลังงานให้แก่อนุภาคของตัวกลางถัดไป
โดยที่อนุภาคของตัวกลาง มีการสั่นกลับไปกลับมา ทำให้เกิดคลื่นเสียงขึ้น วัตถุที่มีมวลมากจะสั่นช้ากว่าวัตถุที่มีมวลน้อยทำให้ความถี่ของเสียงต่ำกว่าวัตถุที่มีมวลน้อยกว่า

สามารถเข้าไปดูข้อมูลเต็มๆได้ที่: http://yaringpat.blogspot.com/2012/10/20-20000-20000-ultrasonic-20-hz.html

ค่า sound pressure levels สูงสุดที่เราแนะนำในห้องในขณะที่กำลังทำกิจกรรม 0

ค่า sound pressure levels สูงสุดที่เราแนะนำในห้องในขณะที่กำลังทำกิจกรรมตามอรรถยาศัย

(ค่าตัวเลขของ sound pressure levels จะแสดงให้เห็นดังตัวอย่างในรูปภาพ)

a

พื้นฐานของเสียง 0

photo-1451481454041-104482d8e284

เสียงเป็นคลื่นตามยาวชนิดหนึ่งซึ่งอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ ดังนั้นคุณสมบัติของเสียงจึงเหมือนคลื่นทุกประการ ตามปกติหูคนสามารถได้ยินเสียงในช่วงความถี่ 20 เฮิร์ตซ์ ถึง20,000 เฮิร์ตซ์ คลื่นเสียงที่มีความถี่สูงกว่า 20,000 เฮิร์ตซ์นั้น เรียกว่าคลื่นเหนือเสียงหรืออัลตราโซนิก (ultrasonic) ส่วนเสียงที่ความถี่ต่ำกว่า 20 Hzเรียกว่าคลื่นใต้เสียงหรืออินฟราโซนิก(Infrasonic Wave)