Topic: เสียงและสุขภาพ

ซอฟต์แวร์ทำแผนที่เสียง Noise contour 0

ทำไมต้องทำ แผนที่เสียง, Noise contour, Noise mapping

ในงานในด้านอาชีวอนามัย เกี่ยวกับเสียงในการประกอบอาชีพ หรืองานด้านสุขศาสตร์ควบคุม หรืองานด้านมลพิษทางเสียง การทำ Noise contour มีประโยชน์อย่างมากในการจัดการด้านเสียงรบกวน และในปัจจุบันการทำ Noise contour ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปเพราะว่ามี Software ที่ออกแบบมาสำหรับงานเสียงโดยเฉพาะอย่าง SoundPLAN manda ผู้พัฒนา Software ทำแบบจำลองคณิตศาสตร์ทางเสียงมากนานกว่า 30 ปี และนอกจากทำ Noise contour ยังสามารถประเมินค่าระดับการรับสัมผัสเสียงสะสม Noise Dose  และคำนวณค่า TWA ที่ Exchange rate 3 ที่สอดคล้องกับกฎหมายไทย ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

งานที่ต้องมีการทำ Noise contour มีดังนี้

  • ดำเนินการตามมาตรการ EHIA
  • เป็นไปตำมหลักเกณฑ์ในการจัดทำ Noise contour ตามโครงการอนุรักษ์การได้ยิน
  • สถานประกอบการที่มีระดับเสียงดังเกินกว่า 85 dBA ตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง
  • การจำแนกพื้นที่เสียงดัง
  • การควบคุมเสียงและป้องกันเสียงดังได้อย่างถูกจุด
  • การติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์เสียง

ทำ Noise mapping ให้เป็นเรื่องง่าย

การกำหนดจุดตรวจวัดและ input ข้อมูลได้อย่างอิสระ และจำนวนจุดตรวจวัดเสียงได้อย่างไม่จำกัด จากข้อมูลการตรวจวัดระดับเสียงสู่ Software การกำหนดขอบเขตของโครงการได้อย่างอิสระและยืดหยุ่น และสามารถเลือก Parameter ได้หลากหลายสำหรับเสียงรบกวนในการทำแผนที่เสียง และการปรับแต่งภาพ Contour ในรูปแบบต่างๆแบบ Template พร้อมใช้งาน หรือสามารถกำหนดเองโดยผู้ใช้งาน

 

วิธีการทำ Noise contour คือ อันดับแรกต้องมีเครื่องวัดเสียง และ Sound calibrator

  1. เริ่มต้น กำหนดจุดตรวจวัดระดับเสียงลงใน Layout ของเรา
  2. ทำการตรวจวัดระดับเสียงและบันทึกค่า Leq dBA หรือพารามิเตอร์อื่นๆถ้าต้องการประเมิน
  3. นำค่าที่วัดได้มา Plot ลงใน SoundPLAN manda ตามจุดที่วัด เพื่อจัดทำ Noise contour

 

ขั้นตอนง่ายๆ โดย SoundPLAN manda

มาตรฐานที่เป็นสากล
มาตรฐานการยอมรับระดับเสียงที่สามารถทำงานได้ในช่วงเวลาต่าง ๆ สามารถเลือกได้ไม่ว่าจะเป็น NIOSH / ACGH / OSHA / MSHA หรือ European standard อื่น ในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่มีการคำนวณปริมาณเสียงสะสมของคนทำงาน (%Dose) ค่าเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน TWA หรือการกำหนดค่า Exchange rate ตามมาตรฐานสากล รวมไปถึงระยะเวลาการทำงาน

หากสนใจเรื่องการทำ Noise contour อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ทาง Geonoise มีผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม ด้าน Noise control engineer และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สามารถให้คำปรึกษาแนะนำตั้งแต่การวัดเสียงที่ถูกต้องจนถึงการทำ Noise contour โดย Software SoundPLAN manda

วิธีการวัดเสียงรบกวน 0

การวัดเสียงรบกวน

อะไรคือเสียงรบกวน

มาทำความเข้าใจกับคำว่า “ เสียงรบกวน ” และมีการประเมินค่าระดับการรบกวนของเสียงได้อย่างไร เสียงต้องดังเท่าไหร่เราถึงจะเรียกว่าเป็นเสียงรบกวนในบทความนี้จะสรุปให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น ถ้าเราลองค้นหาคำว่า มาตรฐานเสียงรบกวน หรือการวัดระดับเสียงรบกวน ก็จะพบกับแนวทาง หรือกฎหมายอยู่ 2 ฉบับ

ประกาศคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2550) เรื่อง ค่าระดับเสียงรบกวน ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2550 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนพิเศษ 98 ง วันที่ 16 สิงหาคม 2550)

ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวณค่าระดับการรบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 21 กันยายน 2565 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 266 ง วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565)  

ก็จะพบกับคำจำกัดความมากมายและสมการการคำนวณระดับเสียงรบกวนที่ดูยุ่งยากและมีเงื่อนไขสลับซับซ้อน ในการประเมินค่าระดับการรบกวน

ค่าระดับเสียงเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่า ระดับเสียงรบกวน ?

ถ้าหาเราอ่านตามเอกสารของประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 เราจะเห็นว่า ให้ระดับเสียงรบกวนเท่ากับ 10 เดซิเบลเอ

หลักการของเรื่องเสียงรบกวนมันมีอยู่ว่า

ให้เอาระดับเสียงขณะมีการรบกวน ลบด้วย ระดับเสียงพื้นฐาน ถ้ามีค่าเกิน 10 dBA แสดงว่าเป็นเสียงรบกวน

ก็คือว่าให้ทำการตรวจวัดระดับเสียง ณ จุดที่เราได้รับการรบกวนจากเสียงนั้น เช่น เราใช้ชีวิตอยู่ในบ้านในห้องนอน และรู้สึกว่าได้รับการรบกวน ขณะที่เราใช้ชีวิตในห้องนอน ก็ให้ทำการตรวจวัดระดับเสียงขณะมีการรบกวนที่บริเวณห้องนอน และทำการวัดค่าระดับเสียงพื้นฐานตอนที่ยังไม่เกิดการรบกวน ณ จุดเดียวกันกับตอนที่มีเสียงรบกวน

ระดับเสียงพื้นฐาน

ก็คือระดับเสียงขณะที่ยังไม่เกิดการรบกวนใดๆ หรือสภาวะระดับเสียงที่เราใช้ชีวิตตามปกติ แต่ว่าโดยวิธีการวัดค่าระดับเสียงพื้นฐานนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการประเมินระดับการรบกวน เพราะว่ามันได้มีรายละเอียดยิบย่อยอย่างนึงในข้อมูลเชิงสถิติที่เรียกว่าระดับ เปอร์เซนไทล์ ที่ 90 หรือ L90 ของเสียงขณะไม่มีการรบกวน ซึ่งต้องนำค่า L90 นี้มาประเมินด้วย

มาถึงจุดนี้ เราต้องมีข้อมูลอยู่จำนวน 3 ชุดข้อมูลในการประเมินเสียงรบกวนคือ

  1. ค่าระดับเสียงที่มีการรบกวน
  2. ค่าระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน
  3. ค่าเปอร์เซนไทล์ ที่ 90 ของระดับเสียงขณะที่ไม่มีการรบกวน L90

จากข้อมูล 3 ชุดนี้ ก็เกือบจะประเมินการรบกวนได้แล้ว แต่ยังมีปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างนึงที่ขาดไม่ได้เลยดังต่อไปนี้คือ

  1. ช่วงเวลาของการเกิดเสียงรบกวน กลางวัน 06:00 – 22:00 ยามวิกาล 22:00 – 06:00 ถ้ายามวิกาลให้บวกไป 3 dBA
  2. สถานที่ที่ต้องการความเงียบสงบ เช่น ศาสนสถาน โรงเรียน โรงพยาบาล ห้องสมุด ให้บวกไป 3 dBA
  3. ลักษณะของเสียง แหลมดัง กระแทก เสียงที่ทำให้เกิดความสั่นสะเทือน ให้บวกไป 5 dBA

บวกเข้าไปในช่วงที่มีการคำนวณขณะมีการรบกวน

จากที่บอกว่าจะพยามให้เข้าใจง่าย แต่เริ่มซับซ้อนขึ้นมาอีก แต่ความซับซ้อนยังไม่จบแค่นี้ ยังมีเรื่องของช่วงเวลาการเกิดเสียงอีก 2 กรณีคือ

  1. เสียงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนานกว่า 1 ชั่วโมง
  2. เสียงที่เกิดต่อเนื่องแต่ไม่ถึง 1 ชั่วโมง
  3. เสียงที่เกิดขึ้นเป็นช่วงๆน้อยกว่า 1 ชั่วโมง

เครื่องมือวัดระดับเสียงที่สามารถวัดค่าระดับเสียงรบกวนได้

ในประกาศฉบับปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2565 ระบุไว้ชัดเจนว่าเครื่องมือวัดเสียงที่จะสามารถวัดและประเมินค่าระดับการรบกวนจะต้องเป็นเครื่องวัดเสียงตามมาตรฐาน IEC61672-1 ที่มีระดับความแม่นยำ Class1 และต้องมีอุปกรณ์กำเนิดเสียงอ้างอิงที่เรียกว่า Sound calibrator ระดับ Class1 ร่วมด้วย และเครื่องมือวัดที่ใช้จะต้องมีการสอบเทียบตามรอบที่กำหนด โดยห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้มาตรฐาน หรือสามารถสอบย้อนกลับทางมาตรวิทยาไปยังหน่วยงานในระดับนานาชาติได้

ในการลงมือปฏิบัติตอยวัดเสียงผู้ตรวจวัดเสียงต้องสอบถามถึง ช่วงเวลาที่เกิดการรบกวน ลักษณะเสียงที่เกิดขึ้นว่าเป็นเสียงเกิดขึ้นแบบไหนเวลานานเท่าไร โดยในการเก็บตัวอย่างตามระยะเวลาของเสียงที่เกิดขึ้นก็จะสามรถแบ่งได้อีก ดังนี้

เสียงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องนานากกว่า 1 ชั่วโมง ให้เก็บเก็บข้อมูล 1 ชั่วโมง

เสียงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องไม่ถึง 1 ชั่วโมง ให้เก็บข้อมูลตั้งแต่เริ่มจนจบ

เสียงที่เกิดขึ้นเป็นช่วง แต่ไม่ถึง 1 ชั่วโมง เกิดหลายๆช่วง ให้เก็บข้อมูลตอนที่เกิดเสียง และนำมาเฉลี่ย

การตั้งเครื่องมือวัดเสียง ควรจะตั้ง ณ จุดที่ผู้ร้องเรียนได้รับการรบกวน หรือตั้งไมโครโฟนสูง 1.2-1.5 เมตร หากเป็นภายในอาคารในรัศมี 1 เมตร ห่างจากผนัง และภายนอกอาคารรัศมี 3.5 เมตร ห่างจากกำแพงหรือสิ่งที่จะทำให้เกิดการสะท้อน

จะเห็นได้ว่าการประเมินค่าระดับการรบกวนมีรายละเอียดอย่างมากมายเพื่อให้การประเมินนั้นมีความถูกต้องและเป็นธรรมที่สุดทั้งฝั่งผู้ที่ได้รับผลกระทบและฝั่งผู้กำเนิดเสียง เพราะฉนั้นบุคคลที่จะทำการวัดต้องศึกษาในขั้นตอนวิธีการอย่างมีความเข้าใจ และด้วยในกฎหมายปัจจุบันที่มีการกำหนดเรื่องเครื่องมือวัดที่มีความแม่นยำสูง จึงทำให้บุคคลทั่วไปไม่สามารถจัดหาเครื่องมือมาวัดเองได้อันเนื่องมาจากราคาเครื่องมือที่สูงมาก และส่วนใหญ่เครื่องมือวัดในระดับความแม่นยำสูงจะมีใช้ในหน่วยงานของรัฐ หรือจำเป็นต้องจ้างบริษัทผู้เชี่ยวชาญในการเข้าตรวจวัด

บทความเผยแพร่โดย Geonoise (THAILAND) Co.,Ltd.

แหล่งที่มา: https://www.geonoise.co.th/2023/10/30/การวัดเสียงรบกวน/

เสียงรบกวน 0

เสียงรบกวน

การตรวจวัดเสียงและการประเมินเสียงรบกวนในประเทศไทยตาม ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวณค่าระดับการรบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน พ.ศ. 2565 จะเห็นได้ว่าการวัดและการประเมินมีความสลับซับซ้อนเป็นอย่างมาก และเครื่องมือวัดเสียงระดับความแม่นยำ Class 1 มีราคาสูง แล้วถ้าหากเราจะประเมินระดับการรบกวนในเบื้องต้นเราจะสามารถใช้เครื่องที่ราคาถูกว่าเครื่องวัดเสียงในระดับ Class 1 ได้หรือไม่

ในฝั่งของผู้ประกอบการเองบางทีการจะซื้อเครื่องมือในระดับ Class 1 คงจะเป็นการลงทุนที่สูงเกินไปในการจะต้องมาประเมินเสียงรบกวนเพียงไม่กี่ครั้ง หรือการที่จะรอให้เกิดการร้องเรียนแล้วมีเจ้าหน้าที่รัฐมาตรวจสอบก็จะเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวเมื่อเสียงเกินมาตรฐานและต้องแก้ไขปัญหา

เครื่องที่พอจะสามารถประเมินค่าเสียงรบกวนได้เป็นอย่างน้อยคือ

  1. เครื่องวัดเสียงที่มีการสอบเทียบจากห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้มาตรฐาน
  2. มีเครื่องกำเนิดเสียงอ้างอิงหรือ Sound calibrator ไว้สอบทวนในการวัดเสียงว่าเครื่องเรายังสามารถวัดได้อย่างถูกต้องมั๊ย
  3. เครื่องจะต้องสามารถเก็บข้อมูลในลักษณะ data logger หรือมีฟังก์ชั่น Percentile ที่สามารถหาค่าระดับ เปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 ได้ (ส่วนใหญ่จะพบในเครื่องที่มีราคาสูงมากๆ) แต่ว่าเครื่องที่สามารถเก็บข้อมูลเสียงแบบ data logger ในความละเอียดเป็นวินาที สามารถใช้ฟังก์ชั่นในโปรแกรม Excel ในการหาค่า เปอร์เซ็นไทล์ที่ 90

วิธีการคำนวณเสียงรบกวน

ให้เอาระดับเสียงขณะมีการรบกวน ลบด้วย ระดับเสียงพื้นฐาน ถ้ามีค่าเกิน 10 dBA แสดงว่าเป็นเสียงรบกวน

ก็คือว่าให้ทำการตรวจวัดระดับเสียง ณ จุดที่เราได้รับการรบกวนจากเสียงนั้น เช่น เราใช้ชีวิตอยู่ในบ้านในห้องนอน และรู้สึกว่าได้รับการรบกวน ขณะที่เราใช้ชีวิตในห้องนอน ก็ให้ทำการตรวจวัดระดับเสียงขณะมีการรบกวนที่บริเวณห้องนอน และทำการวัดค่าระดับเสียงพื้นฐานตอนที่ยังไม่เกิดการรบกวน ณ จุดเดียวกันกับตอนที่มีเสียงรบกวน

ยกตัวอย่าง ค่าระดับเสียงขณะมีการรบกวนจากแหล่งกำเนิดเสียงวัดในห้องนอน 55 dBA เป็นเสียงต่อเนื่องมากกว่า 1 ชม. ค่าระดับเสียงเมื่อแหล่งกำเนิดเสียงนั้นหยุดไป เป็นเสียงขณะไม่มีการรบกวน 48 dBA วัดอย่างน้อย 5 นาที และระดับเสียงพื้นฐาน และค่า L90 ที่หาได้จาก เปอร์เซนไทล์ เท่ากับ 43 dBA

เสียงพื้นฐานในที่นี้คือค่า เปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 หรือ L90

สมการคำนวณ จากการควบคุมมลพิษ

เข้าสูตร เสียงขณะมีการรบกวน ลบ ระดับเสียงพื้นฐาน เท่ากับ ระดับการรบกวน

จะได้ 54.03 dBA – 43 dBA = 11 dBA ถือว่าเป็นเสียงรบกวน

อย่างภาพตัวอย่างเป็นเครื่องวัดระดับเสียงยี่ห้อ PLACID SL-02 เป็น เครื่องระดับ Class 2 ที่สามารถเก็บข้อมูลแบบ data logger ได้ และมีเครื่อง Sound calibrator CA-02 ไว้สำหรับสอบทวนและปรับเทียบความถูกต้องของเครื่องมือ ซึ่งสามารถวัดค่าและประเมินระดับเสียงรบกวนในเบื้องต้นได้ ซึ่งตัวเครื่องมือวัดเสียงของ PLACID SL-02 สามารถวัดได้ทั้งค่าระดับเสียงเฉลี่ย Leq ระดับเสียงสูงสุด LMax ทั้งในหน่วย dBA และ dBC และในการประเมินค่าระดับการรบกวนซึ่งจะต้องมีการวัดค่าระดับเสียงพื้นฐานอย่างน้อย 5 นาที และต้องมีต่า เปอร์เซนไทล์ที่ 90 มาใช้คำนวณ ซึ่งเรายังสามารถเก็บข้อมูลนูปแบบ data logger และนำมาเข้าฟังก์ชั่น percentile ใน excel เพื่อหาระดับ เปอร์เซนไทล์ที่ 90

นอกจากนั้นเรายังสามารถเฝ้าระวังเรื่องเสียงดังรบกวนโดยการติดตั้งเครื่องมือวัดที่สามารถแสดงผลระดับเสียงในแบบ Real time ในการเฝ้าระวังเรื่องเสียง โดยที่ทาง PLACID Instrument สามารถ Supply เครื่องตรวจวัดที่สามารถวัดค่าได้แม่นยำมีการสอบเทียบเครื่องมือในลักษณะที่เป็นจอ LCD screen อีกด้วย

ปัญหาเสียงดังจากอาคาร 0

เสียงที่ดังทั้งชั้นจากในตัวอาคาร

ปัญหาเสียงดังจากอาคาร เสียงที่ดังทั้งชั้นจากตัวอาคาร เสียงที่ เสียงฮัม เสียงหึ่ง เสียงเป็นโทน ทำให้รู้สึกรบกวน และดังไปทั้งชั้น มีทั้งที่เกิดมาจากความสั่นสะเทือนของหม้อแปลงไฟฟ้า ระบบเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ หรืออาคารบางแห่งมีระบบ ลิฟท์ Auto parking ที่ทำให้เกิดเสียงและสั่นสะเทือนที่ส่งผ่านมาตามโครงสร้างอาคาร Structure borne noiseไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนในอาคารก็สามารถรับรู้ถึงเสียงนี้ได้ เพราะว่าแหล่งกำเนิดเสียงที่วิ่งไปตามโครงสร้างของอาคาร

ยกตัวอย่างกรณีเสียงเกิดจากหม้อแปลงไฟฟ้าถึงจะมีการติดแผ่นซับเสียงไปแล้วในห้องหม้อแปลง แต่แทบไม่ได้ช่วยอะไรมาก จากที่เราได้สำรวจหลายๆจุด จะเห็น Fundamental frequency ที่ 100Hz ของ หม้อแปลงไฟฟ้าที่ระบบไฟฟ้า 50 Hz ถ้าสงสัยว่าทำไมต้องเกิดที่ความถี่ 100 Hz และมีความถี่อื่นๆเป็น Harmonic เกิดขึ้นมา ลองเลื่อนไปอ่านบทความก่อนหน้านี้เรื่อง Humming noise จาก Transformer ดูครับ

หากเจอปัญหาแนวนี้ อันดับแรกต้องวิเคราะห์ให้ถูกก่อนว่าเป็นเสียงแบบ Airborne noise หรือ Structures borne noise การแก้ไขปัญหาต่างกัน หรือบางเคสที่ห้องพักอยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดเสียงมากๆ ก็จะเจอทั้ง 2 แบบ ซึ่งการแก้ไขเสียงแบบ Airborne noise คือปรับปรุงในส่วนฉนวนกันเสียงของระบบผนัง พื้น เพดาน และ Structures borne noise ต้องแยกแหล่งกำเนิดออกจากโครงสร้างอาคารเท่านั้น โดยวัสดุที่จะนำมาใช้เพื่อแยกแหล่งกำเนิดออก เช่นพวก Spring Isolator หรือ พวก rubber ต่างๆ ต้องคำนวณนำหนักโหลด ระยะ span พื้น และ Natural frequency ด้วย 

แนะนำว่าถ้าไม่อยากเจอปัญหาแบบนี้ จ้าง Acoustics consult ตั้งแต่เริ่มสร้างอาคาร หรือ ถ้าปัญหาเกิดขึ้นแล้ว Acoustics consult จะช่วยให้แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดและไม่ต้องเสียเงิน ลองผิดลองถูก

เผยแพร่โดย Geonoise (THAILAND).Co.,Ltd.

แหล่งที่มา: https://www.geonoise.co.th/2023/10/29/ปัญหาเสียงดังในอาคาร/

ลักษณะของเสียงที่ได้ยิน แบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ 0

ลักษณะของเสียงที่ได้ยิน แบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
.
1. เสียงดัง-ค่อย
• เสียงดัง-ค่อย ขึ้นอยู่กับแอมพลิจูดของคลื่นเสียง
• ถ้าคลื่นเสียงมีแอมพลิจูดมาก เสียงดังมาก
• ถ้าคลื่นเสียงมีแอมพลิจูดน้อย เสียงจะดังน้อย
.
2. เสียงแหลม-ทุ้ม
เสียงแหลม-ทุ้ม (หรือระดับเสียง) ขึ้นกับความถี่ของเสียง
ถ้าคลื่นเสียงมีความถี่สูง เสียงจะแหลม
ถ้าคลื่นเสียงมีความถี่ต่ำ เสียงจะทุ้ม
ความถี่ต่ำสุด และ ความถี่สูงสุดที่หูคนปกติได้ยิน = 20 ถึง 20,000 Hz
– คลื่นเสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า ช่วงคลื่นที่เราได้ยิน เรียกว่า Infrasonic
– คลื่นเสียงที่มีความถี่สูงกว่า ช่วงคลื่นที่เราได้ยิน เรียกว่า Ultrasonic
การจัดระดับเสียง มีหลายวิธี เช่น
1. การแบ่งระดับเสียงดนตรีทางวิทยาศาสตร์
2. การแบ่งระดับเสียงของเครื่องดนตรีสากลที่นิยมในปัจจุบัน
เสียงคู่แปด (Octave)
เสียงคู่แปด คือ เสียงดนตรีในทางวิทยาศาสตร์คู่หนึ่งที่มีขนาดความถี่หนึ่งเป็น 2 เท่าของอีกขนาดความถี่หนึ่ง
.
3. คุณภาพของเสียง (Quality)
คุณภาพของเสียง หมายถึงเอกลักษณ์ของเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างชนิดกัน ขึ้นอยู่กับจำนวนฮาร์มอนิกของเสียงจากแหล่งกำเนิดนั้น
เสียงดนตรีเป็นเสียงที่น่าฟัง จะน่าฟังหรือไม่ต้องประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
– ระดับเสียง
– ความดัง
– คุณภาพ
ระดับเสียง
ขึ้นอยู่กับความถี่ ความถี่สูงเสียงจะแหลม ความถี่ต่ำเสียงจะทุ้ม คนธรรมดาฟังเสียงที่มีคลื่นความถี่จาก 20 ถึง 20,000 Hz ได้ หรือความยาวคลื่น 17 ถึง 0.017 เมตร
ความดังของเสียง
ขึ้นอยู่กับความเข้มของเสียงหรือแอมพลิจูด แอมพลิจูดมากเสียงจะดัง แอมพลิจูดน้อยเสียงจะมีเสียงค่อย
คุณภาพของเสียง
ขึ้นอยู่กับจำนวนฮาร์มอนิกของคลื่นเสียงจากแหล่งกำเนิด คุณภาพของเสียงทำให้เราแยกได้ว่าเสียงดังกล่าวมาจากเครื่องดนตรีชนิดใด
เครื่องดนตรีแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ
1. เครื่องดนตรีประเภทสาย
2. เครื่องดนตรีประเภทเคาะหรือตี
3. เครื่องดนตรีประเภทเป่า
————————————————————————————
————————————————————————————
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆจาก >> http://force8949.blogspot.com/2015/07/blog-post_30.html << ด้วยค่ะ
————————————————————————————
————————————————————————————

#Geonoise #GeonoiseThailand #Norsonic #PLACID #PLACIDThailand #เครื่องวัดความสั่นสะเทือน #VIBRA #ตรวจวัดเสียง #เสียงรบกวน #เครื่องวัดเสียง #จำหน่ายเครื่องวัดเสียง #รับปรึกษาปัญหาเรื่องเสียง #ควบคุมเสียง #เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน #บริการสอบเทียบ #Calibration #NoiseAlarm #SoundPLAN #NoiseAtWork #Noisecontour #มลพิษทางเสียง #Acoustic #เครื่องวัดฝุ่น #Dustmate #หาแหล่งกำเนิดเสียง #วิเคราะห์เสียง #Measurement #Microphone #NoiseTraining